Wednesday, August 19, 2015

การสังหารหมู่ หรือ Massacre คืออะไร? รับผิดตามกฏหมายใด?ของโลกใบนี้ (ตอนที่ ๓)

การสังหารหมู่ หรือ Massacre คืออะไร? รับผิดตามกฏหมายใด?ของโลกใบนี้ (ตอนที่ ๓)

๑๕. เมื่อนำ กติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมือง และ สิทธิในทางการเมือง ปีค.ศ.1966 หรือ International Covenant on Civil and Political Rights, 1966 และ กติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิในทางเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม ปีค.ศ.1966 หรือ International Covenant on Economic Social and Cultural Rights, 1966 ออกมากางอ่านดู (โปรดหาสนธิสัญญาทั้งสองฉบับมาพิจารณาดู)

๑๖. ผู้อ่านทุกๆท่าน ก็จะพบว่าในการร่างกติการะหว่างประเทศทั้งสองฉบับดังกล่าว ขึ้นมาบังคับใช้แก่นานาชาติ และองค์การสหประชาชาติ หรือ United Nations นั้น ได้มีการนำเอาเจตนารมณ์ของ กฏบัตรสหประชาชาติ ในข้อที่ ๑ และ ข้อที่ ๓ มาวางเป็นกรอบบังคับไว้ ตั้งแต่ต้น


๑๗. คือ เจตนารมณ์ของตัวสนธิสัญญาทั้งสองฉบับ, บทบํญญัติที่ ๑ ข้อที่ ๓. บทบัญญัติที่ ๒ ข้อ ๒, บทบัญญัติที่ ๔ ข้อที่ ๑, ๒ และข้อที่ ๓ รวมทั้งบทบัญญัติที่ ๕ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมือง และ สิทธิในทางการเมือง ปีค.ศ.1966


๑๘. ที่ต้องยกกติการะหว่างประเทศฯทั้งสองฉบับ ขึ้นมาให้ท่านผู้อ่านได้เห็น ก็เพื่อที่จะชี้ว่า เมื่อกติการะหว่างประเทศฯ ดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปีค.ศ.1948 หรือ the Universal Declaration of Human Rights, 1948 เป็นธรรมนูญของโลก ในส่วนที่เกี่ยวกับ สิทธิมนุษยชน หรือ the International Bill of Rights แล้ว

๑๙. ยังเป็นเจตจำนงค์ หรือ เจตนารมณ์ของ กฏบัตรของ องค์การสหประชาชาติ หรือ the Charter of United Nations ตามที่ผมได้แสดงมาให้ดูแล้วตั้งแต่ต้น ที่รัฐ หรือ ชาติคู่ภาคีสมาชิก ชาติ หรือ รัฐคู่ภาคีใดๆ ไม่อาจไปฝ่าฝืนกฏเกณฑ์ เช่นว่านี้ได้ เพราะถ้าชาติ หรือ รัฐคู่ภาคีใดๆ ไปกระทำล่วงละเมิด ต่อ กฏบัตรขององค์การสหประชาชาติ หรือ the Charter of United Nations

๒๐. บทลงโทษ หรือ การ Sanction ย่อมปรากฏเป็นเงาตามตัว ผู้กระทำการละเมิดมา ดั่งเช่น อิรัค. อียิปต์, ลิเบีย, เยเมน, สหภาพอาฟริกาใต้ (ในอดีต) รวมทั้งประเทศไทย เป็นรายล่าสุด ฯลฯ เป็นต้น

๒๑. การที่องค์การสหประชาชาติ หรือ United Nations ยังไม่ใช้มาตรการลงโทษทางทหารต่อ ประเทศไทยในขณะนี้ ไม่หมายความว่า:

๒๑.๑ ผู้กระทำความผิด ที่ได้กระทำความผิดในฐานการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือ Genocide ในประเทศไทย จะหลุดรอดไปจากข้อหา หรือ ฐานความผิด ในข้อหาทางอาญาระหว่างประเทศนี้ ดังปรากฏตามคำประกาศขององค์การสหประชาชาติ หรือ United Nations เองว่า "No Impunity for Perpetrators"


๒๑.๒ สหประชาชาติ กำลังเฝ้าจับตา (Monitoring) การกระทำ อันเป็นการละเมิดต่อ เจตจำนงค์ หรือ เจตนารมณ์ของ กฏบัตรสหประชาชาติ อย่างใจจดใจจ่อ และ ไม่หมายความว่า องค์การสหประชาชาติ จะอยู่เฉยปล่อยให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ในประเทศไทยในรอบที่ ๒ และ รอบที่ ๓ เกิดขึ้น โดยองค์การสหประชาชาติ จะไม่ทำอะไรเลย

๒๑.๓ มิฉะนั้น คงไม่เกิดเป็นคดีความ ในทางอาญาระหว่างประเทศขึ้นในคดี สโลโบดัน มิโลเซวิค, คาราสซิค และ ดูสัน ทาดิค ในศาลอาญาพิเศษของ องค์การสหประชาชาติ ในบอสเนีย เฮอร์เซโกวีน่า, พลอ พต, นวนเจีย กับพวกขึ้น ในศาลอาญาพิเศษของ องค์การสหประชาชาติ ในประเทศกัมพูชา รวมทั้งในรายล่าสุด คือ ซีเซ กับพวก (Sesay et. al ) ขึ้นในศาลอาญาพิเศษของ องค์การสหประชาชาติ ในเซียร่าเรน โอน

๒๒. ที่ต้องบรรยายมา ให้ท่านผู้อ่าน ได้เห็น กฏเกณฑ์ เป็นภาพขึ้น ในสมองท่านผู้อ่าน เพราะต้องการปูพื้นฐานเบื้องต้น เป็นความเข้าใจในกลไกทางกฏหมายของ องค์การสหประชาชาติ ในทางที่ต้องใช้กฏหมายบังคับ แก่กรณีของ "การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือ Genocide" ก่อนที่จะก้าวล่วง ไปหาสนธิสัญญาต่างๆ ที่เกี่ยวพัน กับ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือ Genocide ต่อไป ในตอนหน้า ................... (มีต่อ)

No comments:

Post a Comment