Tuesday, August 25, 2015

ขัดตาทัพ

เรียนดร.              ช่วงเปลี่ยนผ่านจากยุคโคโลนีทับซ้อนกับฟิวดัลนั้น มีการขับเคี่ยวชิงความเป็นผู้นำโลกคือ ฝรั่งเศสกับอังกฤษ ฝรั่งเศสตัดสินใจเขาร่วมปฏิวัติน้ำชา เมื่อสำเร็จได้ลากเทพีเสรีภาพแบ่งเป็นสามส่วนข้ามทะเลไปให้เป็นของขวัญ ต่อมาทำให้ฝรั่งเศสเห็นถึงการปลดแอกจึงเกิดการปฏิวัติและลามไปหลายประเทศ(เกิดความต่างทางด้านการปกครองของอังกฤษกับฝรั่งเศส)               ในยุคโคโลนีก็คือการครอบครองพื้นที่ในโลกเช่นเดียวกับฟิวดัล ธรรมชาติการปฏิวัตินั้นคือการล้มอำนาจเก่าเพื่อสร้างอำนาจใหม่จุดพลิกผันอยู่ที่ความคิดยุคเรอเนซองคิดว่าทุกอย่างมนุษย์เป็นผู้กำหนดปัจจุบันเรียกว่าวิทยาศาสตร์ ควบกับยุคที่เองเกลยอมรับคาร์มาร์ก ทุกสิ่งเกิดที่เยอรมันเสียส่วนใหญ่ เนื่องจากยุโรปใต้เมื่อพ้นยุคดาร์กเอชนั้นมีการฆ่าผู้เห็นต่างอย่างมากมาย จนเกิดนครเล็กที่สุดแต่ทรงอิทธิพลที่สุดเรียกว่า วาติกัน               การรีโวรูชั่นทั่วไป  คือ ผู้ถูกกดขี่เห็นความไม่เป็นธรรมในผู้กดขี่ จึงลุกขึ้นต่อต้าน อ่านได้จากแนวคิดจอร์น ลอค หรือ คาร์ล เป็นความเห็นเหมือนกันแต่การกระจายอำนาจต่างกัน เมื่อล้มผู้มีอำนาจได้ จะเกิดการขัดแย้งในหมู่ผู้ถูกกดขี่ด้วยกันเองแบ่งเป็นสองขั้ว เข้าสู้ยุคสงครามกลางเมืองหรือการปกครองหนึ่งประเทศสองระบบ และจึงได้บทสรุปที่คำว่าประชาธิปไตยกับกฏเหล็ก5ข้อที่ห้ามทำลาย                 ย้อนมองประเทศไทยวันนี้ยังไม่มีการล้มระบบฟิวดัล แต่กลับมีการสร้างมวลชนเป็นสองฝ่ายเหมือนว่าเจ้าของที่ดินได้ถูกล้ม แล้ว เป็นหน้าที่ประชาชนต้องมาตกลงเพื่อนำพาประเทศต่อไป หมากนี้ถูกซ่อนเงื่อนจากประเทศไม้ไผ่ที่มีระบบจักรพรรดิ์ยาวนานว่าเหตุใดระบบที่เข้มแข็งจึงล้มได้  เมื่อคุยกันอยู่ถึงสามสิบปีจึงพบว่าเกิดจากผู้ถูกปกครองไม่ยอมรับในตัวผู้ปกครอง(สมัยฟิวดัลนั่นเอง)จึงมีการคายอำนาจและให้ผลประโยชน์แก่คนกลุ่มหนึ่ง และคนกลุ่มนั้นจะมีสวัสดิการครอบคลุมคนรอบข้างจนไม่คิดจะล้มผู้ให้การอุปถัมเพราะเท่ากับเป็นการล้มตัวเอง  เมื่อคนกลุ่มนี้มีมากกว่ากลุ่มผู้ถูกกดขี่การรีโวรูชั่นจึงจบลงในขั้นการวางระบบการปกครองเท่านั้นเองไม่สามารถก้าวไปถึงผู้ปกครองได้  (ปล.ฉบับนี้ยาวไปหน่อยและรบกวนเวลาอันมีค่าของ ดร. ผมขออภัยที่มีรายละเอียดไม่เกี่ยวข้องมากเกินไป)  ในนี้มีคำตอบของข้อสอบจองหงวนครับมันซับซ้อนเลยไม่สามารถตอบแบบตรงๆได้                                                                                                                                           ด้วยความเคารพอย่างสูง

No comments:

Post a Comment