Saturday, May 21, 2016

2 ปี ภายใต้การกดขี่ของ ทรราช คสช. มีแต่ความเสียหาย และเสียหมา

"จาตุรนต์" ชี้ 2 ปีคสช. สะท้อนค่าใช้จ่ายความเสียหายราคาแพงจากรัฐประหาร ไม่ประสบความสำเร็จแก้ปัญหาเศรษฐกิจ เหตุขาดวิสัยทัศน์ ตั้งคนไม่เหมาะสมกับงาน

-
เมื่อวันที่ 21 พ.ค.2559 นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี แกนนำพรรคเพื่อไทยกล่าวถึงการบริหารงานครบรอบ 2 ปี ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่า 2 ปีที่ผ่านมา ปัญหาใหญ่จริงๆ การไม่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว เติบโตต่ำที่สุดในภูมิภาค และทำให้ประชาชนคนที่มีรายได้ รวมถึงเกษตรกร คนยากจน ต้องเดือดร้อนมากกว่า ทุนขนาดใหญ่เท่านั้นที่ยังพอทำธุรกิจกันไปได้ ปัญหานี้เป็นผลสืบเนื่องจากเศรษฐกิจโลกตกต่ำ เศรษฐกิจที่เป็นคู่ค้ากับประเทศชะลอตัวก็จริง แต่มันถูกซ้ำเติมด้วยการขาดวิสัยทัศน์ ประสบการณ์ ความรู้ในการทำงาน การวางคนที่ไม่เหมาะกับงาน เอาคนที่ไม่มีความรู้ด้านการบริหารมาคุมกระทรวงสำคัญๆ เสียเป็นส่วนใหญ่ โดยคนที่มีความรู้ทางเศรษฐกิจไม่สามารถทำอะไรได้

-
นอกจากนั้น นายกฯ ยังขาดความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจ ความรู้ในการบริหารประเทศ มักแสดงความเห็นแบบผิดบ้างถูกบ้าง พูดเผื่อๆ ไว้ จนไม่มีใครรู้ว่านโยบายรัฐบาลคืออะไรกันแน่แทบทุกเรื่อง ปัญหาซ้ำเติมมากกว่านี้ เนื่องจากประเทศไทยต้องคบค้าต่างประเทศ รวมทั้งมีเรื่องที่ต้องแก้ไขด้วยการเจรจา แต่ประเทศต่างๆ ก็จะไม่ร่วมมือ ตราบใดที่ประเทศไทยยังไม่เป็นประชาธิปไตย เมื่อยังไม่มีความชัดเจนว่าประเทศไทยจะเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ รวมทั้งมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างมาก และฝ่ายผู้มีอำนาจรัฐก็ไม่ได้ตอบสนองเสียง 'วิพากษ์วิจารณ์' ข้อเรียกร้องจากประชาคมระหว่างประเทศ ก็ทำให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ขาดความเชื่อมั่นว่า ประเทศจะมีเสรีภาพ พัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไปได้ เรื่องนี้เป็นค่าใช้จ่ายและความเสียหายที่แพงมาก จากการรัฐประหาร และการปกครองแบบไม่เป็นประชาธิปไตย

-
ทั้งนี้ ยังมีเรื่องล้มเหลวในเรื่องสำคัญๆ ที่ยังไม่สามารถพูดได้หมดในขณะนี้ ทั้งความล้มเหลวการปฏิรูป การแก้ปัญหาความขัดแย้งในประเทศ ในการคืนประชาธิปไตย การที่จะให้ประเทศอยู่ในสภาพที่ปกครองกฎหมายเป็นกฎหมาย และผู้คนปฏิบัติตามกฎหมายที่เป็นธรรม และเท่าเทียมกัน ส่ิงเหล่านี้ยังไม่เกิดขึ้น จึงเป็นความล้มเหลวในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา และยังไม่เห็นว่าจากนี้ไปจะดีขึ้น.

-
Cr. ไทยรัฐออนไลน์


No comments:

Post a Comment