Wednesday, March 9, 2016

ดร. ทักษิณ​พูดอะไรไว้ ที่ World Policy Institute ที่นิวยอร์ค 9 มีนาคม 2559

กูต้องได้ 100 ล้าน จากทักษิณแน่ๆ
อดีตนายกรัฐมนตรี ดร.ทักษิณ ชินวัตร บรรยายที่นิวยอร์ก ชี้เศรษฐกิจโลกศตวรรษที่ 21 ต้องอาศัยการพึ่งพากันในเครือข่ายระดับนานาชาติ เตือนไทยจะตกขบวนเศรษฐกิจ หากรัฐธรรมนูญใหม่ทำให้รัฐบาลเลือกตั้งถูกแทรกแซง จนไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นด้านสเถียรภาพการเมืองได้

ดร.ทักษิณ อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวในช่วงไฮไลต์ของการบรรยาย ที่งาน "สนทนาเป็นการส่วนตัวกับทักษิณ ชินวัตร" (Thaksin Shinawatra in Private Discussion) ซึ่งจัดโดยสถาบันนโยบายโลก (World Policy Institute) ที่นครนิวยอร์ก ของสหรัฐฯ ว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดของไทยจะไม่สามารถวางโครงสร้างพื้นฐานในเชิงสถาบัน ที่จะส่งเสริมให้มีการลงทุน การผลิต และความร่วมมือระหว่างไทยกับต่างประเทศได้ เนื่องจากอาจเปิดช่องให้มีการแทรกแซงอำนาจฝ่ายบริหาร และ นิติบัญญัติ โดยอำนาจพิเศษของวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง และฝ่ายตุลาการ

"เมื่อพิจารณาถึงเค้าโครงของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มันคงเป็นไปได้ยากที่จะได้มาซึ่งรัฐบาลที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนและความท้าทายในศตวรษที่ 21 ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ ได้กำหนดให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 200 คนซึ่งจะถูกแต่งตั้งโดย "ผู้เชี่ยวชาญ" วุฒิสภาจะมีอำนาจมากยิ่งขึ้นในการยับยั้งการออกพระราชบัญญัติต่างๆ ศาลรัฐธรรมนูญจะมีขอบเขตอำนาจในการตัดสินคดีที่มากยิ่งขึ้น ศาลรัฐธรรมนูญจะมีอำนาจในการไต่สวนและวินิจฉัยคดี เมื่อมีบุคคลใดก็ตามได้ดำเนินการร้องเรียน โดยไม่ได้มีเงื่อนไขที่ว่ากรณีดังกล่าวต้องเป็นข้อพิพาทจริงที่องค์กรทางการเมืองหรือศาลอื่นได้ดำเนินการยื่นเรื่องแก่ศาลรัฐธรรมนูญ"

"หากพวกเราคิดว่าหลักการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย คือ รากฐานเพื่อการสร้างความเจริญเติบโตและเสถียรภาพของประเทศ หัวข้อสำคัญที่พวกเราต้องพิจารณาคงเป็นเรื่องที่ว่า อำนาจตุลาการจะล่วงล้ำอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารหรือไม่ เพื่อให้รัฐบาลสามารถบริหารเศรษฐกิจของประเทศในยุคที่เศรษฐกิจโลกกำลังชะลอตัว ผมหวังว่าคงจะไม่มีการใช้อำนาจตุลาการที่เกินกว่าความจำเป็นอีกในอนาคต กรณีศึกษาในประเทศต่างๆ ได้แสดงให้พวกเราเห็นว่า การใช้อำนาจพิจารณาทบทวนโดยศาล โดยไม่ได้มีการถ่วงดุลและตรวจสอบ อาจกลายเป็นการใช้อำนาจอย่างไม่ เหมาะสมและเป็น "ยุทธวิธีเตะถ่วงงาน" จนสุดท้ายก่อให้เกิดอุปสรรคในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ" -- อดีตนายกรัฐมนตรี ดร.ทักษิณ กล่าว

อดีตนายกรัฐมนตรีแสดงวิสัยทัศน์ด้านเศรษฐกิจโลกในศตวรรษที่ 21 ว่าควรให้ความสำคัญแก่การขยายความร่วมมือเพื่อสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกับประเทศคู่ค้าต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศในเอเชีย ควรส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความมั่งคั่งให้แก่ประชาชนแบบระหว่างประเทศและระหว่างภูมิภาค เพราะความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วทางด้านเทคโนโลยีการผลิตแบบอุตสาหกรรมไปสู่ "สภาวะปกติใหม่ของโลกปัจจุบัน" หรือ "New Normal" จากรูปแบบ "การผลิตสินค้าในประเทศเดียว" สู่ "ระบบเครือข่ายการออกแบบ การสรรหาปัจจัยการผลิต และการผลิตที่มีลักษณะข้ามชาติ" และอีคอมเมิร์ซที่เติบโตอย่างมากโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย-โอเชียเนีย

"ประเทศไทยคงไม่สามารถหลีกเลี่ยงความท้าทายของโลกในศตวรรษที่ 21 ได้ ตลอดช่วงกว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยได้ถูกเชื่อมโยงเข้ากับเศรษฐกิจโลกอย่างต่อเนื่อง สัดส่วนมูลค่าการส่งออกต่อรายได้ประชาชาติของประเทศไทยและมูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติในประเทศไทยได้แสดงให้พวกเราได้เห็นอย่างชัดเจนถึงทิศทางของเศรษฐกิจไทยที่เชื่อมโยงอย่างแน่นแฟ้นเข้ากับชะตากรรมของเศรษฐกิจโลก" -- ดร.ทักษิณ เชื่อมโยงประเด็นสถานการณ์ไทย ที่ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกับนานาชาติ

ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างจีน กับ สหรัฐฯ ที่มักถูกมองแบบเหมารวมว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน อดีตนายกฯไทยมองว่าการปกครองที่แตกต่างกัน ซึ่งนำไปสู่นโยบายเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศที่แม้จะเป็นคนละขั้ว แต่เป็นกระบวนการคู่ขนาน ซึ่งเมื่อถึงจุดหนึ่ง จะสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมให้แก่ทั้งภูมิภาคเอเชียและโลกตะวันตก
 —  

No comments:

Post a Comment