Wednesday, March 9, 2016

"จีน" กินรวบรถไฟไทย ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

"จีน" กินรวบรถไฟไทย


updated: 09 มี.ค. 2559 เวลา 13:00:40 น.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

วันนี้ "จีน" ประเทศมหาอำนาจแห่งเอเชีย กำลังแผ่อิทธิพลการพัฒนาระบบรางมายังประเทศไทย นอกจากระบบรถไฟความเร็วปานกลาง เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีน ที่กำลังทำรายละเอียดโปรเจ็กต์ร่วมกัน

ล่าสุดได้ขยายตลาดรุกจาะโครงการของ "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" ที่กำลังจัดซื้อทั้ง "หัวรถจักร-รถโดยสาร-โบกี้บรรทุกสินค้า" มูลค่าร่วม 14,022 ล้านบาท หลังว่างเว้นมานาน 20-30 ปี โดยผู้ผลิตจีนรายแรกบุกเบิกตลาดสำเร็จ มาจากโรงงานจีนตอนใต้ "บจ.CSR Qishuya" คว้างาน "หัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า" 20 คัน พร้อมอะไหล่ 2,020 ล้านบาท ราคาเฉลี่ยกว่า 100 ล้านบาท/คัน มี "บจ.ป่าไม้สันติ" เป็นผู้แทนการขาย ปัจจุบันใช้ลากจูงรถขนส่งสินค้าสายเหนือและอีสานมายังท่าเรือแหลมฉบัง นับเป็นครั้งแรกที่ "ร.ฟ.ท." ซื้อสินค้าจากจีน จากเดิมซื้อจาก "อเมริกา-เยอรมนี-ฝรั่งเศส"
จากนั้นเป็น "บจ.ฉางชุน เรลเวย์ เวฮิเคิลส์" ในกลุ่ม CNR ได้เค้ก "รถโดยสารรุ่นใหม่" 115 คัน วงเงิน 4,668 ล้านบาท ซื้อผ่านกลุ่ม บจ.เขาหลักแบมบู ออร์คิด, บจ.ร่วมมิตรเหมืองแร่ และ บจ.ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น จะอวดโฉมในเดือน พ.ค.นี้ 

ขณะที่ "โบกี้บรรทุกสินค้า" 308 คัน พร้อมอะไหล่ วงเงิน 770 ล้านบาท เป็นสินค้าจากผู้ผลิตจีนเช่นกัน มี บจ.สยามโบกี้ เป็นผู้แทนจากไทย เป็นผู้จัดหาให้ ร.ฟ.ท.

ส่วน "ซื้อหัวรถจักรจีอี" 50 คัน วงเงิน 6,151 ล้านบาท เค้กประมูลล่าสุด หนีไม่พ้นได้ผู้ผลิตจากจีน เป็นกลุ่มกิจการร่วมค้า คิวเอส ประกอบด้วย บจ.ซีอาร์อาร์ซี ซิซูเอียน และ บจ.ซานโฟโก อินเตอร์เนชั่นแนล ได้งานประมูลแบบไร้คู่แข่ง กำลังลุ้นจะผ่านการพิจารณาจากบิ๊กคมนาคมหรือไม่

และไม่แค่ "ร.ฟ.ท." ที่เป็นลูกค้ารายใหญ่จากจีน ปัจจุบันมี "ทีพีไอ" ของ เสี่ยประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ร่วมแจมด้วย อนาคตอันใกล้ "ปตท." น่าจะเป็นอีกรายที่จะตามมา และรายอื่น ๆ ที่กำลังมีแผนจะซื้อลอตใหญ่

สาเหตุที่ทำให้สินค้า "จีน" เป็นที่นิยมว่ากันว่าเป็นเพราะมีต้นทุนการผลิตถูกกว่าทางยุโรปอย่างน้อย 30-50% อย่าง "หัวรถจักร" จีนตั้งราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่คันละ 100-110 ล้านบาท อีกทั้งปัจจุบันจีนมีการพัฒนาเทคโนโลยีทันสมัย และได้รับไลเซนส์การผลิตจากทางยุโรปที่ผลิตสินค้าได้หลากหลายตามสเป็กที่คู่ค้ากำหนด


ติดตามข่าวสารผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
www.facebook.com/PrachachatOnline
ทวิตเตอร์ @prachachat

No comments:

Post a Comment