Thursday, January 7, 2016

‘เชคนิมร์ อัล นิมร์’เป็นใครถึงถูกซาอุฯประหาร

'เชคนิมร์ อัล นิมร์'เป็นใครถึงถูกซาอุฯประหาร

Source: http://www.komchadluek.net/detail/20160105/219972.html

'เชคนิมร์ อัล นิมร์'เป็นใครถึงถูกซาอุฯประหาร

            เชคนิมร์ อัล นิมร์ เกิดในปี 2503 ที่หมู่บ้านยากจนเมืองคาติฟ จ.ตะวันออก ( Eastern Province ) ซึ่งเป็นจังหวัดที่ร่ำรวยน้ำมันและพื้นที่ที่มีชาวชีอะห์เป็นประชากรส่วน ใหญ่ เคยไปศึกษาด้านศาสนศาสตร์ที่อิหร่านและซีเรียเป็นเวลาหลายปี ก่อนกลับบ้านเกิดในปี 2537

            เริ่มเป็นที่จับตาของหน่วยความมั่นคง หลังจากปราศรัยเรียกร้องเสรีภาพทางศาสนา สิทธิเท่าเทียมของชาวชีอะห์ และโจมตีราชวงศ์ซาอุฯ อย่างดุเดือด จนทำให้ถูกจับกุม 8 ครั้งช่วงปี 2546-2551 ขณะเดียวกัน ก็มีผู้เลื่อมใสจำนวนมากโดยเฉพาะในหมู่คนหนุ่มสาวที่ไม่พอใจที่ถูกเลือก ปฏิบัติจากรัฐบาลทั้งในซาอุฯ และเพื่อนบ้านบาห์เรน ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นชีอะห์แต่อยู่ใต้ผู้ปกครองสุหนี่

            ท่ามกลางกระแส "อาหรับ สปริง" ในปี 2554 ชาวชีอะห์ในบาห์เรนและจังหวัดตะวันออกของซาอุฯ ออกมาชุมนุมประท้วงเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน และเชคนิมร์ กลายเป็นบุคคลผู้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนครั้งนั้น ขณะที่รัฐบาลซาอุฯ พยายามสกัดกั้นและกวาดล้างการเคลื่อนไหว รวมถึงส่งรถถังเข้าไปช่วยฟื้นฟูความสงบในบาห์เรนด้วย

            ในสายตาของทางการซาอุฯแล้ว เชคนิมร์ อัล นิมร์ และบรรดาแกนนำชีอะห์อื่นๆคือสมุนอิหร่าน ศัตรูตัวฉกาจในขั้วอุดมการณ์ตรงข้าม

            อย่างไรก็ดี แม้ เป็นที่รู้จักเรื่องการใช้ถ้อยคำดุเดือดในการปราศรัย แต่ไม่เคยมีหลักฐานว่านักการศาสนาเรียกร้องให้ต่อต้านขัดขืนโดยจับอาวุธขึ้น สู้ หรือใช้ความรุนแรง

            เชคนิมร์ เคยให้สัมภาษณ์บีบีซีในปี 2554 ก่อนถูกจับว่า สนับสนุนให้ใช้ถ้อยคำเป็นอาวุธ พลังแห่งถ้อยคำแข็งแกร่งยิ่งกว่า และการต่อสู้ด้วยอาวุธ ทางการจะได้ประโยชน์

            ถึงกระนั้น ทางการเข้าจับกุมตัวในปีถัดไป และเป็นชนวนประท้วงระลอกใหม่อีกในจังหวัดตะวันออก หลังจากมีคลิปที่เชคนิมร์อยู่ในสภาพบาดเจ็บขณะอยู่ในความควบคุมของเจ้า หน้าที่ ทางการระบุว่า เขาบาดเจ็บที่ขา จากการยิงต่อสู้ขัดขืน

            เดือนตุลาคม 2557 เชคนิมร์ถูกศาลพิเศษที่ซาอุฯตั้งขึ้นเมื่อปี 2551 เพื่อตัดสินคดีก่อการร้าย พิพากษาว่า มีความผิดในหลายข้อหา รวมถึงยุยงให้เกิดความกระด้างกระเดื่องต่ออำนาจรัฐ สร้างความแตกแยกทางนิกาย ไม่จงรักภักดีต่อกษัตริย์อับดุลเลาะห์ ณ ขณะนั้น ด้านน้องชายของเขากล่าวว่า หนึ่งในข้อหาคือยุยงให้ต่างชาติแทรกแซงซาอุฯ

            ต่อมา ศาลอุทธรณ์ยืนตามคำตัดสินของศาลชั้นต้นเมื่อตุลาคมปีที่แล้ว

            กลุ่มสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและชุมชนมุสลิมนิกายชีอะห์ ต่างประณามการดำเนินคดีว่าไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้ทนายเข้าให้คำแนะนำระหว่างสอบสวน และแจ้งข้อหาคลุมเครือ การตัดสินประหารเป็นความพยายามบดขยี้ผู้เห็นต่างที่มีแต่จะเพิ่มความ ตึงเครียดระหว่างนิกาย

            นิวยอร์กไทมส์รายงานว่า ในปี 2555 มีการเผยแพร่คลิปวิดีโอที่นักการศาสนาท่านนี้ ปราศรัยแสดงความยินดีกับการสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายนาเยฟ บิน อับดุลลาซิส รัฐมนตรีมหาดไทยในขณะนั้นตอนหนึ่งว่า "บุคคลผู้นี้จะถูกหนอนกิน และทุกข์ทรมานในสุสานนรก คนที่ทำให้ชีวิตของพวกเราตกอยู่ในความกลัวและหวาดผวาเช่นนี้ พวกเราควรยินดีกับการตายของเขาหรือไม่"

            ปัจจุบัน รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยที่รับผิดชอบการประหารคือ มกุฎราชกุมารโมฮัมเหม็ด บิน นาเยฟ พระโอรสของเจ้าชายบินนาเยฟ

            นายโทบี แมททีสเซน นักวิจัยอาวุโสด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในตะวันออกกลาง ที่ศูนย์ตะวันออกกลางมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด

            ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับผู้เห็นต่างชีอะห์ในซาอุฯ ทวิตเมื่อสุดสัปดาห์ว่า แม้ซาอุฯ ประหารนักโทษจำนวนมาก แต่ การประหารเชคอัล นิมร์ เป็นการประหารผู้เห็นต่างทางการเมืองครั้งแรกในรอบหลายสิบปี

            และก่อนหน้านี้ แมททีสเซน ได้ตั้งข้อสังเกตว่า คดีนี้เกิดขึ้นในห้วงเวลาที่ความสัมพันธ์ระหว่างชีอะห์กับสุหนี่ทั้งในซาอุฯ และทั่วตะวันออกกลางย่ำแย่ที่สุดในรอบหลายสิบปี ชุมชนชาวชีอะห์ในซาอุฯ ตกเป็นเป้าโจมตีด้วยระเบิดฆ่าตัวตายหลายระลอก ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลริยาดกับเตหะรานตกต่ำสุดขีด ซาอุฯ เป็นผู้นำทัพเข้าแทรกแซงสงครามในเยเมน ทำให้เยเมนเป็นสมรภูมิระหว่างแนวร่วมอาหรับสุหนี่นำโดยซาอุฯ กับกบฏฮูที ซึ่งเป็นชีอะห์ที่มีอิหร่านหนุนหลัง ส่วนวิกฤติการณ์ซีเรีย อิหร่านหนุนประธานาธิบดีบาชาร์ อัล อัสซาด ส่วนซาอุฯ หนุนกลุ่มกบฏที่มุ่งโค่นอัสซาด

            นักวิจัยท่านนี้กล่าวด้วยว่า ซาอุฯ ภายใต้กษัตริย์พระองค์ใหม่ มีกระแสแตกแยกนิกายเพิ่มขึ้นมาก การกวาดล้างมุสลิมชีอะห์ชนส่วนน้อยรุนแรงกว่าแต่ก่อน แต่เป็นมาตรการที่คนจำนวนมากนิยมชมชอบ

            ( ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์คมชัดลึก ฉบับวันจันทร์ที่ 4 มกราคม 2559 )

ที่มา : เอเอฟพี นิวยอร์คไทมส์

No comments:

Post a Comment