Friday, September 4, 2015

ประวัติเมืองปาตานีหรือรัฐปาตานี

ประวัติเมืองปาตานีหรือรัฐปาตานี

http://www.io-pr.org/index.php…

ประวัติเมืองปัตตานี
ตอนที่ 1

กำเนิด ดินแดนหลังกาสุกะจนถึงปัจจุบัน ประมาณ 2,000 ปี ซึ่งถิ่นกำเนิดดินแดนนี้ศูนย์กลางอยู่ที่หมู่บ้านยือรา (จือแร ประตูโพธิ์) เมืองยะรังในปัจจุบัน ตามคำบอกเล่าในหนังสือประวัติศาสตร์ของอินโดนีเซีย ก่อนที่จะมาเป็นปาตานีนั้นดินแดนลังกาสุกะถือว่าเป็นดินแดนที่มีความหลาก หลายของชาติพันธุ์ มีทั้งจีน ทั้งอินเดีย ความคิดความเชื่อก็มีลักษณะความเชื่อแบบจิตวิญญาณผิดๆ คือเชื่อในผีสาง ต่อมาก็เกิดความเชื่อแบบศาสนาฮินดูอย่างกว้างขวางอารยะธรรมก็เป็นแบบจีนและ อินเดีย ตลอดจนระบบการปกครองก็มีลักษณะเป็นแบบอิสระ คือปกครองตามแบบแผนของตนเอง(ปกครองโดยตนเอง) มีการไปมาหาสู่กันระหว่างจีน อินเดีย รวมไปถึงชาวอาหรับ ส่วนชาวซาไกที่อาศัยตามหุบเขาต่างๆ ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน คนเหล่านั้นก็ถือว่าเป็นบรรพบุรุษของลังกาสุกะเช่นกันรวมไปถึงคนที่อยู่ตาม ชายทะเล (ภูเก็ต ระนอง พังงา สตูล กระบี่) ก็เป็นลูกหลานลังกาสุกะ เรียกรวมๆว่าอาณาจักรลังกาสุกะหรืออาณาจักรมลายูสมัยพราหมณ์-ฮินดู ต่อมาเป็นการแพร่ขยายเข้ามาของบูสาร์(ศาสนาพุทธ)นิกายมหายาน ส่วนภาษาพูดเป็นการพูดเหมือนกับคนปาตานีพูด ปัจจุบันมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่หลงเหลืออยู่ เช่น เมืองโบราณยะรัง ซึ่งคลุมพื้นที่ 3 พื้นที่ของเมืองยะรังประกอบด้วย ตำบลวัด ตำบลประจัน และตำบลยะรัง

ตอนที่ 2

พ.ศ. 2000 ลังกาสุกะเป็นชื่อที่ถูกเรียกมาก่อนของดินแดนแห่งนี้ ลังกาสุกะ (หมู่เกาะแห่งสงบสุข)เคยเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรมลายู โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่โกตามาหาลิไกย (ยะรังในปัจจุบัน) ซึ่งช่วงนั้นประสบกับปัญหาการคมนาคมเพราะต้องข้ามฝั่งไปมาซึ่งยากลำบากทำให้ เจ้าเมืองพญาอินทิรา พยายามหาพื้นที่เพื่อเปลี่ยนที่ตั้งเมืองแห่งใหม่ เจ้าเมืองพญาอินทิราเป็นบุคคลที่รักการล่าสัตว์เป็นงานอดิเรก จึงได้จัดช้างเผือกเข้าไปล่าสัตว์บริเวณริมทะเลพร้อมตั้งแคมป์เป็นที่พัก ต่อมาได้มีสุนัขตัวหนึ่งเห่าอยู่ใกล้ๆที่ตั้งแคมป์เจ้าเมืองพญาอินทิราจึง ได้ออกสำรวจดู พบว่ามีกระจงขาววิ่งหนีหายไปในระหว่างหาดทรายริมชายทะเล จึงออกไล่ตามและได้พบกับผู้เฒ่านามว่าโต๊ะตานี เลยถามว่าเห็นกระจงผ่านมาที่หาดนี้ไหม เจ้าเมืองพญาอินทิราเมื่อได้เห็นชายหาดแห่งนี้จึงเกิดความรู้สึกชอบ เพราะชายหาดแห่งนี้สะอาด(บรือเซะ) หรือกรือเซะ จึงเป็นเหตุให้พระองค์ย้ายเมืองหลวงจากโกตามาหาลิไกยมาตั้งที่กรือเซะ โดยได้ก่อตั้งเมืองกรือเซะขึ้นมาก่อนใช้เวลาก่อตั้ง ประมาณ 3 เดือนเศษเพื่อเป็นที่ตั้งเมืองใหม่และต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นชื่อเมืองปาตานี `ในช่วงนั้นเจ้าเมืองพญาอินทิรานับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน โดยในสมัยนั้นคนในพื้นที่อยู่ภายใต้การควบคุมของนักประวัติศาสตร์ยุโรปได้ กล่าวว่า ยุคนั้นผู้คนนับถือหรือเข้าอิสลามประมาณ 300 ปีก่อนพญาอินทิราจะเข้ารับอิสลาม หากเราสังเกตแผนที่แล้วในพื้นที่แห่งนี้ถือว่าเป็นพื้นที่แหลมหรือเรียกว่า แหลมทองนับจากกระบุรี จังหวัดระนองลงมา โดยการตั้งชื่อนี้นักกรีกโบราณได้มีการตั้งชื่อไว้ในช่วงศตวรรษที่ 3 ซึ่งในพื้นที่แหลมทองนี้เป็นถิ่นที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านพืชผลหลากหลาย ชนิด ตลอดจนในช่วงนั้นการทำเนื้อกระจงตากแห้งเป็นที่นิยมของคนอาหรับ จึงได้ส่งไปยังต่างประเทศและเป็นสินค้าที่นิยมมาก ชาวอาหรับก็ได้เดินทางลงมายังแผ่นดินแหลมทองแห่งนี้มาพร้อมกับการเผยแพร่ ศาสนาและทำการค้าควบคู่กัน

ตอนที่ 3

ยุค ของการเผยแพร่ศาสนาอิสลามเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เจ้าเมืองพญาอินทิรายังดื้อรันไม่ยอมเข้ารับอิสลามและไม่มีใครที่กล้าเข้าไป ในวังเพื่อเผยแพร่ศาสนาให้กับเจ้าเมืองพญาอินทิรา การเผยแพร่ศาสนามีความเข้มข้นมากตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นอาณาจักรลังกาสุกะมา จนถึงช่วงต้นของการสร้างเมืองปัตตานี แต่ประชาชนชาวโกตามาหาลิไกยส่วนใหญ่ยังนับถือศาสนาพุทธผสมกับพราหมณ์ – ฮินดู จนมาถึงสมัยของเจ้าเมืองพญาอินทิรา เกิดการเปลี่ยนแปลงทางศาสนาจากศาสนาพุทธเป็นอิสลาม การเปลี่ยนศาสนาของเจ้าเมืองพญาอินทิรามีตำนานเล่ากันว่า เจ้าเมืองพญาอินทิราได้ทรงเกิดพระโรคบางอย่างกำเริบขึ้นบนร่างกายของ พระองค์ แพทย์หลวงในราชสำนักรักษาเท่าไรก็ไม่มีทีท่าว่าจะหายขาด พระองค์จึงให้เสนาบดีป่าวประกาศไปทั่วเมืองว่า หากหมอผู้ใดสามารถรักษาพระโรคให้หายขาดได้จะทรงพระราชทานรางวัลให้อย่างงด งาม มีแขกปาชายผู้หนึ่งเดินทางมาจากเกาะสุมาตราชื่อ"เซ็กซาฟียิดติน" อาสาเข้าทำการรักษาพระโรคของเจ้าเมืองพญาอินทิรา โดยขอคำมั่นสัญญาจากพระองค์ว่าเมื่อตนสามารถรักษาอาการป่วยหายแล้ว พระองค์ต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามแทนศาสนาพุทธซึ่งเจ้าเมืองพญาอินทิรา ก็ทรงรับปากแต่โดยดี เซ็กซาฟียิดตินได้ทำการรักษาพระโรคของเจ้าเมืองพญาอินทิราจนหายขาด แต่พระองค์กลับคำไม่รักษาสัญญา ต่อมาไม่นานโรคร้ายจึงกำเริบขึ้นมาอีกครั้งร้อนถึงหมอแขกชื่อดังต้องกลับมา รักษาให้หายอีก แต่คราวนี้เจ้าเมืองพญาอินทิราก็ไม่ปฏิบัติตามสัญญาเสียที เจ้าเมืองพญาอินทิราได้ผิดคำสัญญาถึง ๓ ครั้ง หมอแขกก็ตามรักษาอยู่ทุกครั้ง จนมาถึงครั้งที่ ๔ เจ้าเมืองพญาอินทิราจึงยอมเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามตามสัญญา และโรคร้ายก็หายไปไม่มากล้ำกรายอีกเลย จึงแต่งตั้งเซ็กซาฟียิดตินขึ้นเป็น ดาโต๊ะ สารีรายา ฟาเกะฮ์ (คือผู้รู้ยอดเยี่ยมของ ศาสนาอิสลาม) เป็นเหตุให้พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ ขุนนาง และชาวเมืองเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามกันหมด พลเมืองชาวปาตานีเมื่อเห็นกษัตริย์ของตนเปลี่ยนศาสนาจึงพากันเข้ารีตนับถือ ศาสนาอิสลามกันทั้งหมด ต่อมาจึงได้ทำลายพระพุทธรูป เทวรูป โบราณสถานทางพุทธศาสนาพุทธในเมืองลังกาสุกะจนเสียหายหมดสิ้น จากนั้นชื่อเมืองลังกาสุกะก็หายไปจากหน้าประวัติศาสตร์นับตั้งแต่บัดนั้น

ตอนที่ 4

การ เข้ามาของเซ็กซาฟียิดตินในปาตานี เพื่อรักษาอาการป่วยของพญาอินทิราจนพระองค์เข้ามารับนับถือศาสนาอิสลามแล้ว เปลี่ยนพระนามเป็น สุลต่านอิสมาแอลชาห์ซิลลุลลอฮ์ฟิลอาลาม ได้มีการขอพรให้พื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่ปาตานีดารุสาลาม การเรียกชื่อเมืองปาตานีเป็นปาตานีดารุสาลาม ได้มีการสืบทอดการปกครองอาณาจักรปาตานีดารุสสาลามจนสิ้นสุดราชวงศ์ศรีมหาวัง สา ซึ่งนับจากอดีตจนถึงปัจจุบันนี้ราวประมาณ 500 ปี มาแล้ว และเซ็กซาฟียิดตินเองก็ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญในการเข้ามามีบทบาทของ การเปลี่ยนแปลงเมืองปาตานีให้ดียิ่งขึ้น เปลี่ยนแปลงการนับถือศาสนาให้กระจ่างยิ่งขึ้น และได้ขยายพื้นที่ คอลอมือเกาะห์ (สะพานปลาในปัจจุบันนี้) ถึงบานา ตันหยงลูโละ ปาเระ และเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในอาคเนย์ มีช่วงหนึ่งที่เครื่องบินรบของจีนได้เข้ามาในปาตานี มาส่งมอบกระสุนปืนใหญ่ให้กับกษัตริย์ปาตานีน้ำหนักประมาณ 8 กิโลกรัม กษัตริย์ปาตานีถามกลับว่าไหนปืนล่ะ จึงเกิดที่มาในการสั่งการให้สร้างปืนใหญ่ขึ้นมา ที่รู้จักกันในช่วงนั้นคือปืนใหญ่มาเรียมโดยมีช่างใหญ่เป็นชาวอิหร่าน หลังจากนั้นกษัตริย์ปาตานีประกาศต่อชาวปาตานีว่าห้ามใครขายทองแดงเด็ดขาด เนื่องจากปาตานีมีความประสงค์ที่จะผลิตเป็นปืนใหญ่ เราสามารถดูปืนใหญ่นี้ได้ที่หน้ากระทรวงกลาโหม 1 กระบอกมีนามว่าศรีปาตานีส่วนที่เหลือได้จมลงทะเลในสมัยนั้น ชาวปาตานีในสมัยก่อนได้ผลิตปืนใหญ่ส่งไปยังต่างประเทศแล้ว เราในสมัยนี้ล่ะจะผลิตเข็มตราปาตานีส่งขายไป ยังต่างประเทศได้หรือไม่ลองคิดดู ในสมัยนั้นมีหลายประเทศที่เข้ามาสั่งซื้อปืนใหญ่จากปาตานีเช่น ญี่ปุ่น หากมองภาพรวมแล้วปาตานีก็ถือว่าไม่ใช่กระจอกในช่วง 500 ปีก่อน

ตอนที่ 5
ต่อ มาเป็นยุคการต่อสู้ของรายาอูมูม (รายาบีรู) ที่ได้นำกองทัพไปตีสยามในพื้นที่พัทลุง จนสยาม พ่ายแพ้ โดยใช้เวลาในการต่อสู้นานถึง 4 ปี ซึ่งในช่วงนั้นเป็นช่วงที่รายาอูมูม (รายาบีรู) ที่มีบทบาทในการสร้างสถาบันปอเนาะ และยุคนั้นเองได้สร้างมัสยิดตะโละมาเนาะ (มัสยิด 300 ปี) โดยวาเดลฮูเส็นเป็นผู้ สร้างและเปิดให้มีปอเนาะ รวมทั้งมีการเขียนอัลกุรอานด้วยมือเป็นเล่มๆ ซึ่งมัสยิดถือได้ว่าเป็นโรงพิมพ์ใน ช่วงนั้นก็ว่าได้ ต่อมาลูกๆหลานๆ ของวาเดลฮูเส็นที่ชื่อ อับดุลเลาะ ได้ขยายพื้นที่เปิดปอเนาะไปยังเขต กรือเซะ ต่อมาเมื่อปี 2329 ได้เกิดสงครามเก้าทัพ ปาตานีนำทัพโดยเชะดาโอะ ซึ่งมีอายุเพียง 17 ปี หลังจากการทำสงคราม เชะดาโอะ ก็ได้เดินทางไปยังรัฐตรังกานู (ประเทศมาเลเซีย) และไปยังอาเจะห์ (ประเทศอินโดนีเซีย) เพื่อไปเรียนต่อประมาณ 3 ปี แล้วเดินทางต่อไปยังนครมะดีนะห์ (ประเทศซาอุดิอาระเบีย) ซึ่ง การทำสงครามกับสยามที่ปาตานีช่วงนั้นได้พ่ายต่อชาวสยาม
ตอนที่ 6
ช่วง สงครามเก้าทัพนั้นมัสยิดกรือเซะถูกเผา และปืนใหญ่ศรีปาตานีทั้ง 2 กระบอกถูกยึดไปรวมถึงบ้านเรือน วัง ก็ถูกเผาทั้งหมด คนที่สามารถหลบหนีได้ก็หนีไปยังพื้นที่อื่นๆ ส่วนคนที่หนีไม่ทันก็ถูกนำตัวไปยังบางกอก ชาวปาตานีถูกนำไปครั้งนั้นเพื่อเป็นเชลยขุดคลอง (คลองแสนแสบ) ต่อมาเชะดาโอะได้กลับมาทำสงครามอีก ครั้งกับสยามโดยได้ขยายพื้นที่ไปยังเขตจะนะและสะกอม
ปาตานีคือ ชื่อรัฐๆ หนึ่งอยู่บนแผ่นดินด้ามขวานที่เรียกว่าแหลมมลายู แซะห์ อาหะหมัด บินวัน มูฮัมหมัดเซ็น อัลฟาตอนี ได้กล่าวไว้ว่า "ปาตานี คือรัฐหนึ่งในหลายๆ รัฐของชาวมลายู ได้เป็นสถานที่ก่อกำเนิดบุรุษที่ดี เฉลียวฉลาด รักสงบและเก่งกล้า เป็นรัฐที่มีเอกราช และอยู่ภายใต้ปกครองของบุคคลเหล่านั้นมาแต่อดีต"
การเผยแพร่ศาสนาในช่วง นั้นมีการยึดถือมุสฮับสาฟีอีน(ความเชื่อ ความศรัทธา) และเจริญขึ้นในฐานะอิสลามอย่างเต็มรูปแบบในปาตานี เพราะฉะนั้นเราต้องให้ความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ปาตานี
ตอนที่ 7
ต่อ มาเป็นยุคของรายากูนิงเป็นยุคที่มีการแย่งชิงอำนาจทางการปกครอง เนื่องจากกษัตรีย์ปาตานี ได้สิ้นพระชนม์และได้มีการแต่งตั้งขึ้นมาใหม่ ก่อนการสิ้นพระชนม์ของรายากูนิงแทบจะเรียกได้ว่าในระหว่างการปกครองของ กษัตริย์ที่เป็นหญิงในปาตานีนั้นได้สร้างความเจริญรุ่งเรือง การแต่งตั้งเจ้าเมืองขึ้นมาใหม่ ซึ่งมาจากสามัญชนทั่วไปชื่อต่วนกูอะห์หมัดมาเป็นกษัตริย์แทน ช่วงนั้นมีชาวพุทธคนหนึ่งมีชื่อว่านายจันทอง มีพื้นเพมาจากนครศรีธรรมราชก็ได้เข้ารับอิสลามและได้เข้าไปเป็นทหาร จากนั้นได้นำทัพลงน่านน้ำปาตานีและนำปืนใหญ่ไปด้วยเพื่อทำการรบกับสยาม แต่ในความเป็นจริงแล้วนายจันทองนั้นเรียกได้ว่าเป็นนกสองหัว เนื่องจากสยามยิงปืนใส่ชาวปาตานี แต่นายจันทองกลับยิงปืนใส่ชาวปาตานีด้วยกันเองทำให้ต่วนกูอะห์หมัดสิ้นชีวิต ลงในระหว่างการลงรบ หลังจากนั้นปาตานีจึงได้เปลี่ยนผู้ปกครองอีกหลายต่อหลายท่าน
สุลต่าน อะห์หมัดเป็นสุลต่านจนถึง พ.ศ.2329 ปาตานีก็ถึงกาลอวสาน เนื่องจากการเข้าโจมตีของกองทัพสยามทั้งทางบกและทางเรือ ซึ่งสุลต่านอะห์หมัดได้สิ้นชีพในการต่อสู้กับศัตรูในครั้งนั้น และส่งผลให้ บ้านเมืองถูกเผาทำลาย ชาวมลายูปาตานีถูกฆ่าตายเป็นจำนวนมาก ที่สามารถหลบหนีได้ก็แยกย้ายกันไปอาศัยเมืองข้างเคียง ส่วนหนึ่งก็ถูกจับตัวไปเป็นเชลยพร้อมปืนใหญ่ศรีปาตานีที่ถูกยึดไปบางกอก ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ที่หน้ากระทรวงกลาโหม
เมื่อประมาณ 500 ปีก่อน ปาตานีถือเป็นที่ผลิตปืนใหญ่ที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก โดยทางญี่ปุ่นก็ได้มีการสั่งซื้อไปยังประเทศด้วย การทำสงครามครั้งนี้ถือเป็นการทำสงครามครั้งที่หกและเป็นครั้งแรกที่ปาตานี ต้องสูญเสียอำนาจแก่สยาม กระทั่ง พ.ศ.2329 สยามได้ยึดปาตานีอย่างเป็นทางการในสมัยของรัชกาลที่ ๑ ศูนย์กลางของสยามในสมัยนั้นคือธนบุรีก่อนที่จะมาเป็นกรุงเทพ
ตอนที่ 8
มี คนถามว่ามันเกี่ยวข้องอย่างไรกับเกดาห์ (กือเดาะห์) ผู้บรรยายอธิบายต่อว่า เนื่องจากช่วงนั้นมีการกล่าวกันว่าพญาวังศาได้เข้าไปในเกดาห์ พญาวังศามีลูกสาวจึงได้ขึ้นช้างพามุ่งหน้าไปยังทิศเหนือไปถึงห้วยเงาะ โคกโพธิ์ แล้วหยุดเนื่องจากช้างร้องไห้ ซึ่งปัจจุบันบริเวณนั้น เป็นที่ตั้งของวัดช้างไห้แต่ข้อมูลยังไม่แน่ชัดเท่าไร สำหรับข้อมูลในส่วนของปาตานีที่มีความสัมพันธ์กับเกดาห์นั้น มีความเกี่ยวข้องกันในส่วนของการตั้งเป็นศูนย์กลางทางด้านการค้าในสมัยลังกา สุกะและเป็นรัฐญาติมิตรระหว

No comments:

Post a Comment