Saturday, April 4, 2015

ศาลนานาชาติ มีอำนาจพิจารณาและพิพากษา กรณีในไทย แค่ไหน?





By Thanaboon Chiranuvat
ศาลนานาชาติ มีอำนาจพิจารณาและพิพากษา กรณีในไทย แค่ไหน? มีคนไทย ที่ยังมีความสงสัย ในเรื่องอำนาจการพิจารณา และ พิพากษา ในระหว่างศาลอาญาพิเศษขององค์การสหประชาชาติ และศาลอาญาระหว่างประเทศ เกี่ยวพันกับ Convention Against Corruption, 2003.

ก) ไทยไม่ได้ลงสัตยาบันยอมรับศาลอาญาระหว่างประเทศใข่ไหมคะ ข) เคยมีใครโดนศาลอาญาพิเศษของสหประชาขาติโดนพิพากษาว่าละเมิด Convention Against Corruption ไหมคะ
๑. ไทยไม่ต้องลงสัตยาบันใดๆ เพราะไทยให้สัตยาบันมาแล้ว ต่อ Charter of United Nations, 1945 ในวันที่ ๑๖ ธันวาคม ปีค.ศ.๑๙๔๖ หรือปีพ.ศ.๒๔๘๙ ศาลอาญาพิเศษ ขององค์การสหประชาชาติ เกิดขึ้นตาม Resolutions ของคณะมนตรีความมั่นคง หรือ Security Council ที่ ๑๖๗๔ และ ๘๒๗ คำสั่งของคณะมนตรีความมั่นคง เมื่อสั่งแล้วมีผลบังคับ เป็นกฏหมายทันที ในกฏหมายภายในของรัฐคู่ภาคีสมาชิก ขององค์การสหประชาชาติ ตามกฏบัตรสหประชาชาติ หรือ Charter of United Nations ......................................................ฯ
๒. ยังไม่มีใครโดนดำเนินคดีตาม (สนธิสัญญา) หรือ Convention Against Corruption, 2003 แต่ไทยจะโดนเป็นคนแรก ให้ไปเปิดเว็บไซด์ของศาลนี้ดู คือ ศาล อาญาพิเศษของสหประชาชาติ ที่ตั้งไว้ในบอสเนีย เฮอร์เซ โกวีน่า, ราวันด้า ได้ครับ นั่นเป็นการพิจารณาและพิพากษาตาม the Geneva Conventions, 1949 และ Hague Conventions หรือ Regulations, 1899 - 1907 สำหรับสองสนธิสัญญานี้ มีความเกี่ยวพัน หรือเกี่ยวโยงใกล้ชิดกับ Human Rights Law ที่เป็นบ่อเกิดของ Convention Against Corruption, 2003 ฉะนั้นเมื่อเรื่องไปถึงองค์การสหประชาชาติ และ ดำเนินการในการสอบสวนจนเสร็จสิ้นแล้ว คดีจะถูกส่งไปยังคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเพื่อมีมติว่า จะให้ขึ้นศาลใดในระหว่าง ศาลอาญาระหว่างประเทศ กับ ศาลอาญาพิเศษขององค์การสหประชาชาติ เพราะอำนาจให้ไปขึ้นศาลใด เป็นอำนาจโดยเฉพาะของ คณะมนตรีความมั่นคง ตาม Rome Statue, 1998 และ Charter of United Nations, 1945........................................................ฯ

๓. ประเทศไทย ยังมิได้ให้สัตยาบันต่อ Rome Statues, 1998 แต่ถึงอย่างไร? ก็ตามเมื่อเรื่องไปรอการลงมติของคณะมนตรีความมั่นคง เพื่อสั่ง เมื่อคณะมนตรีความมั่นคงสั่งอย่างไร? ตามกฏบัตรสหประชาชาติ, ๑๙๔๕ แล้ว ย่อมส่งผลไปถึง Rome Statues, 1998 อยู่ดี ทั้งนี้เป็นไป ตามมติของที่ประชุมใหญ่ของรัฐคู่ภาคี Rome Statues, 1998 ที่ไปประชุมกันที่กรุงกัมปาล่า ประเทศเอธิโอเปีย เมื่อปีค.ศ.๒๐๑๐ ศาลอาญาระหว่างประเทศ มิใช่ศาลอาญาของ องค์การสหประชาชาติ แต่เป็นศาล ที่องค์การสหประชาชาติ เป็น Sponsor จัดตั้งให้เกิดขึ้นตามคำร้องของ ชาติคู่ภาคีสมาชิก ขององค์การสหประชาชาติ มีประมาณ ๑๒๐ ชาติคู่ภาคี.
ศาลนานาชาติ มีอำนาจพิจารณาและพิพากษา กรณีในไทย แค่ไหน?

No comments:

Post a Comment